ข44. การคำนวณหักเงินค้ำประกัน เท่า ๆ กันทุกเดือน และเมื่อครบตามจำนวนให้หยุดหักอัตโนมัติ

44. การคำนวณหักเงินค้ำประกัน เท่า ๆ กันทุกเดือน และเมื่อครบตามจำนวนให้หยุดหักอัตโนมัติ

ถาม:

ต้องการคำนวณหัก(เช่น เงินค้ำประกันการทำงาน, เงินประกันของเสียหาย, เงินกู้ยืม)

ที่ต้องหักประจำเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 งวด, 6 งวด เมื่อครบตามจำนวนให้หยุดการหัก เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

บริษัทฯ เรียกเก็บเงินประกันของเสียหายจากพนักงานทุกคนจำนวน 2,000 บาท

โดยหักจากเงินเดือนๆ ละ 500 บาททุกเดือนจนครบ แล้วให้หยุดหักอัตโนมัติ

และเมื่อพนักงานจะลาออกจึงจะคืนให้

หลักการ

1.ต้องมี รายการรับหักต่าง ๆ เพื่อป้อนเก็บค่าใช้ในการคำนวณ

- U0751 เงินประกันทั้งหมด เป็นประเภท "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ"

ใช้เก็บจำนวนเงินประกันที่ต้องจ่ายทั้งหมดในตัวอย่างนี้คือ 2,000 บาท

- U0752 เงินประกันต่อเดือน เป็นประเภท "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ"

ใช้เก็บยอดหักแต่ละงวดในตัวอย่างนี้คือ หักงวดละ 500 บาท

- U0753 เงินประกันหมดแล้ว1 เป็นประเภท "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ"

ใช้เก็บค่าที่ได้จากสูตรคำนวณ

- U0754 เงินประกันหมดแล้ว2 เป็นประเภท "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ"

ใช้เก็บค่าที่ได้จากสูตรคำนวณ

- U0651 เงินประกันสะสม เป็นประเภท "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ"

ใช้เก็บยอดหักสะสมว่าหักไปทั้งหมดเท่าไหร่แล้ว

- S0519 หักเงินประกันต่อเดือน เป็นประเภท "เงินหักไม่ช่วยลดภาษี"

ใช้เป็นค่าที่นำไปสะสมรวมเก็บไว้ใน เงินประกันสะสม

2. ต้องมี สูตรสำหรับคำนวณเงินหัก

2.1 U0651 เงินประกันสะสม / U0751 เงินประกันทั้งหมด + 0

เก็บไว้ที่ U0753 เงินประกันหมดแล้ว1

การปัด เศษสตางค์ 3 - ปัดเป็น 1 บาท, วิธีการปัด 2 - ปัดลง

2.2 U0753 เงินประกันหมดแล้ว1 * U0752 เงินประกันต่อเดือน + 0

เก็บไว้ที่ U0754 เงินประกันหมดแล้ว2

การปัด เศษสตางค์ 0 - ไม่ปัด, วิธีการปัด 0 - ค่ากลาง

2.3 U0752 เงินประกันต่อเดือน - U0754 เงินประกันหมดแล้ว2 + 0

เก็บไว้ที่ S0519 หักเงินประกันต่อเดือน

การปัด เศษสตางค์ 0 - ไม่ปัด, วิธีการปัด 0 - ค่ากลาง

3. สูตรเก็บยอดสะสม และ สูตรสำหรับหักเงินสะสม กรณีมีการจ่ายคืนพนักงานที่ลาออก

3.1 S0519 หักเงินประกันต่อเดือน สะสมไปยัง U0651 เงินประกันสะสม +

3.2 S0318 คืนเงินประกัน หักจาก U0651 เงินประกันสะสม -

___________________________________________

ทดสอบสูตร งวดที่ 1

เงินประกันสะสม(0) / เงินประกันทั้งหมด(2000) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว1(0)

เงินประกันหมดแล้ว1(0) * เงินประกันต่อเดือน(500) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว2(0)

เงินประกันต่อเดือน(500) - เงินประกันหมดแล้ว2(0) + 0 เก็บไว้ที่ หักเงินประกันต่อเดือน(500)

หักเงินประกันต่อเดือน(500) สะสมไปยัง เงินประกันสะสม(0) จะได้ = เงินประกันสะสม(500)

ทดสอบสูตร งวดที่ 2

เงินประกันสะสม(500) / เงินประกันทั้งหมด(2000) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว1(0.25) แต่ตั้งปัดเศษทิ้งไว้จึงมีค่าเท่ากับ 0

เงินประกันหมดแล้ว1(0) * เงินประกันต่อเดือน(500) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว2(0)

เงินประกันต่อเดือน(500) - เงินประกันหมดแล้ว2(0) + 0 เก็บไว้ที่ หักเงินประกันต่อเดือน(500)

หักเงินประกันต่อเดือน(500) สะสมไปยัง เงินประกันสะสม(500) จะได้ = เงินประกันสะสม(1000)

::

ทดสอบสูตร งวดที่ 4 (สุดท้าย)

เงินประกันสะสม(1500) / เงินประกันทั้งหมด(2000) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว1(0.75) แต่ตั้งปัดเศษทิ้งไว้จึงมีค่าเท่ากับ 0

เงินประกันหมดแล้ว1(0) * เงินประกันต่อเดือน(500) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว2(0)

เงินประกันต่อเดือน(500) - เงินประกันหมดแล้ว2(0) + 0 เก็บไว้ที่ หักเงินประกันต่อเดือน(500)

หักเงินประกันต่อเดือน(500) สะสมไปยัง เงินประกันสะสม(1500) จะได้ = เงินประกันสะสม(2000)

ทดสอบสูตร งวดที่ 5

เงินประกันสะสม(2000) / เงินประกันทั้งหมด(2000) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว1(1)

เงินประกันหมดแล้ว1(1) * เงินประกันต่อเดือน(500) + 0 เก็บไว้ที่ เงินประกันหมดแล้ว2(500)

เงินประกันต่อเดือน(500) - เงินประกันหมดแล้ว2(500) + 0 เก็บไว้ที่ หักเงินประกันต่อเดือน(0)

หักเงินประกันต่อเดือน(0) สะสมไปยัง เงินประกันสะสม(2000) จะได้ = เงินประกันสะสม(2000)

*** จะเห็นว่างวดที่ 5 จะไม่มีการหักเงินประกันสะสมอีก คือ จะหยุดหักอัตโนมัติ

เมื่อครบตามจำนวนแล้ว ผู้ใช้ไม่ต้องคอยจำว่าได้หักไปครบแล้วหรือไม่

และไม่ต้องแก้ไขตัวเลขใดใดอีก โปรแกรมจะทำให้อัตโนมัติ

___________________________________________

เมื่อได้ตัวแปร และหลักการตามต้องการแล้วให้เริ่มบันทึกข้อมูลต่างๆ ตามที่ได้วางไว้

เข้าในโปรแกรแกรม โดยเริ่มจาก

1.ไปเพิ่มฟิล์ดเก็บข้อมูล (เงินประกันต่อเดือน, เงินประกันทั้งหมด, เงินประกันหมดแล้ว1, เงินประกันหมดแล้ว2)

เข้าไปในตารางรายการรับหัก โดย

- ไปที่เมนูตั้งค่า > ตารางข้อมูล > รายการรับหัก

- คลิกเลือกกลุ่ม "ตัวเลขที่นำไปใช้คำนวณ",

- คลิกเพิ่ม Add เพื่อเพิ่มข้อมูลทั้ง 4 รายการเข้าไปในตาราง ดังนี้

U0751 เงินประกันทั้งหมด

U0752 เงินประกันต่อเดือน

U0753 เงินประกันหมดแล้ว1

U0754 เงินประกันหมดแล้ว2

- คลิกเลือกกลุ่ม "ยอดสะสม"

- คลิกเลือก ผู้ใช้กำหนดเอง

- คลิก เพิ่ม Add เพื่อเพิ่มข้อมูล

U0651 เงินประกันสะสม เข้าไปในตาราง

- คลิกเลือกกลุ่ม "เงินหักไม่ช่วยลดภาษี"

- คลิก เพิ่ม Add เพื่อเพิ่มข้อมูล

S0519 หักเงินประกันต่อเดือน เข้าไปในตาราง

2.เพิ่มรายการเก็บข้อมูลในแบบฟอร์ม โดย

- เลือกเมนู ตั้งค่า > กำหนดแบบฟอร์ม ป้อนข้อมูล > เพิ่มลบรายการรับหักคงที่

- เลือกรหัสแบบฟอร์ม เป็น PM00 - ค่าลดหย่อน/เงินสะสม

- คลิก เพิ่ม 2 รายการ คือ

U0751 เงินประกันทั้งหมด

U0651 เงินประกันสะสม

- เลือกรหัสแบบฟอร์ม เป็น PM01-ข้อมูลคงที่ (สำหรับธุรกิจทั่วไป)

- คลิก เพิ่ม 1 รายการ คือ

U0752 เงินประกันต่อเดือน

3.กำหนด สูตรคำนวณ โดย

- เลือกเมนู ตั้งค่า > สร้างสูตรคำนวณ > สูตรคำนวณยอดเงินต่างๆ

- เพิ่มสูตร 3 สูตรคือ

3.1 U0651 เงินประกันสะสม / U0751 เงินประกันทั้งหมด + 0

เก็บไว้ที่ U0753 เงินประกันหมดแล้ว1

การปัด เศษสตางค์ 3 - ปัดเป็น 1 บาท, วิธีการปัด 2 - ปัดลง

3.2 U0753 เงินประกันหมดแล้ว1 * U0752 เงินประกันต่อเดือน + 0

เก็บไว้ที่ U0754 เงินประกันหมดแล้ว2

การปัด เศษสตางค์ 0 - ไม่ปัด, วิธีการปัด 0 - ค่ากลาง

3.3 U0752 เงินประกันต่อเดือน - U0754 เงินประกันหมดแล้ว2 + 0

เก็บไว้ที่ S0519 หักเงินประกันต่อเดือน

การปัด เศษสตางค์ 0 - ไม่ปัด, วิธีการปัด 0 - ค่ากลาง

4.กำหนด สูตรคำนวณยอดสะสม โดย

- เลือกเมนู ตั้งค่า > สร้างสูตรคำนวณ > สูตรยอดสะสม

- คลิก เพิ่ม สูตร

4.1 S0519 หักเงินประกันต่อเดือน สะสมไปยัง U0651 เงินประกันสะสม +

4.2 S0318 คืนเงินประกัน หักจาก U0651 เงินประกันสะสม -

5.ลองใช้งาน ป้อนจำนวนเงิน โดย

- เลือกเมนู ข้อมูลหลัก > ประวัติพนักงาน

- เลือกพนักงานที่ต้องการ

- คลิก แก้ไข

- คลิกแทป ค่าลดหย่อน และเงินสะสม

- ใส่ยอด เงินประกันทั้งหมด 2,000

- - เงินประกันต่อเดือน 500 (กรณีมีการหักสะสมไว้แล้วให้ใส่ยอดเงินประกันสะสมด้วย)

- เสร็จแล้วคลิก บันทึก

6.ลองคำนวณเงินเดือนฯ

โปรแกรมจะคำนวณหักเงินเป็นค่าประกันของเสียหายให้เองทุกงวดจนครบ 2,000 บาท

จึงหยุดการหักเงินให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่ต้องมาจำ หรือมาแก้ไขใดใดอีก

(สำหรับเงินกู้อื่นๆ ก็ทำวิธีเดียวกับการหักเงินประกันของเสียหาย โดยตั้งชื่อฟิล์ดที่จำเป็น

และกำหนดสูตรคำนวณต่างๆ แบบเดียวกันนี้ได้เลย)